ปัจจัยต่างๆที่ทำให้เครื่องบินเคลื่อนที่ 💨





🍂 เครื่องบิน
ส่วนสำคัญของเครื่องบิน อาจแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ๆ ได้ ๒ ส่วน คือ เครื่องยนต์และ เครื่องบิน
เครื่องยนต์ในระยะเริ่มแรกเป็นเครื่องยนต์ลูกสูบ มีกำลังแรงน้อย ใช้แบบระบายความร้อน ด้วยอากาศ และแบบระบายความร้อนด้วยของเหลว มีใบพัดเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำให้ เกิดแรงฉุดเครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ในสมัยต้นๆ ใบพัดจะทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียวที่สุด มีจำนวนกลีบตั้งแต่ ๒ ถึง ๔ กลีบ ต่อมาได้เปลี่ยนไปใช้โลหะผสมซึ่งแข็งแรงทนทานและดีกว่า ไม้ จึงสามารถสร้างใบพัดให้มีจำนวนกลีบมากที่สุดถึง ๕ กลีบ
ส่วนสำคัญของเครื่องบินเครื่องยนต์เดียว ปีก ๒ ชั้น
ส่วนสำคัญของเครื่องบินเครื่องยนต์เดียว ปีก ๒ ชั้น
เครื่องบิน มีส่วนประกอบสำคัญ คือ ลำตัว ปีก หาง และฐานล่าง


🍂 ลำตัวเครื่องบิน
เป็นส่วนที่ใช้ติดตั้งเครื่องยนต์ ที่นั่งนักบินและผู้โดยสาร ในระยะแรกลำตัว เครื่องบินประกอบด้วยโครงซึ่งทำด้วยไม้หรือท่อโลหะขนาดต่างๆ เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน แล้วบุด้วย ผ้าบางๆ แต่แข็งแรงและมีน้ำหนักเบา ทาด้วยกาวพิเศษเพื่อให้ผ้าตึงเรียบและไม่เปียกน้ำ ระยะ ต่อมาเมื่อเครื่องบินโลหะล้วนทั้งเครื่องได้ก้าวเข้ามาสู่โลกของการบิน ลำตัวซึ่งประกอบด้วยท่อโลหะ ก็หมดไป กลายเป็นลำตัวแบบใช้เอ็นยึดภายใน ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่า และให้ประโยชน์ดีกว่าแบบ โครงท่อโลหะอย่างมากมาย


🍂 ปีก
มีลักษณะเป็นแพนอากาศ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการให้แรงยกสำหรับพยุงเครื่อง บินทั้งเครื่องให้ลอยอยู่ในอากาศได้ สมัยแรกๆ ปีกเครื่องบินจะประกอบด้วยเอ็นซึ่งทำด้วยไม้ มี น้ำหนักเบา ยึดติดอยู่กับแกนปีกซึ่งเป็นไม้เนื้อเหนียวและแข็งแรง ทั้งเอ็นปีกและแกนปีกจะหุ้ม ด้วยผ้าเช่นเดียวกับลำตัว ที่ชายหลังปีกเล็กๆ ยาวประมาณหนึ่งในสามของปีกใหญ่ติดอยู่เรียกว่า ปีก เล็กแก้เอียงซึ่งขยับขึ้นลงได้ ทำหน้าที่บังคับการเอียงของเครื่องบินทั้งเครื่อง หรือมีหน้าที่บังคับ             อาการหมุนรอบแกนลำตัวทางยาวของเครื่องบินขณะอยู่ในอากาศ สำหรับเครื่องบินสมัยใหม่ ทั้ง แกนปีกและเอ็นปีกจะทำด้วยโลหะและบุด้วยโลหะแทนผ้าที่กล่าวแล้ว ส่วนปีกเล็กแก้เอียงอาจจะ ยังคงใช้ผ้าบุ หรือบุด้วยโลหะเหมือนผิวปีกก็ได้ และภายในปีกโลหะนี้อาจใช้ปริมาตรภายในส่วน ใหญ่เป็นถังเชื้อเพลิงได้อีกด้วย ตามปกติ ปีกจะติดอยู่กับลำตัวตรงตำแหน่งที่จะใช้แรงยกต่อเครื่อง- บินทั้งเครื่องดีที่สุด เครื่องบินที่มีปีกมากกว่าหนึ่งชั้น (๒ หรือ ๓ ชั้น) จะมีเสาค้ำปีก ยึดปีกทุกชั้น ให้ติดกันและมีลวดแกงแนงยึดโยงเสาค้ำปีกเหล่านั้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงขึ้น สำหรับเครื่องบิน ปีกชั้นเดียวที่ประกอบปีกเข้ากับลำตัวแบบคาน จะไม่มีลวดแกงแนงยึดโยงด้วย
เครื่องบินไอพ่นสามเครื่องยนต์ แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ      เครื่องบินไอพ่นสามเครื่องยนต์ แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ
เพื่อให้เข้าใจถึงการทำงานของปีก ควรทราบเหตุผลเบื้องต้นก่อนสองประการ ประการแรก ทำไมปีกจึงต้องทำให้เป็นแพนอากาศที่มีภาคตัดขวางเป็นรูปเพรียวลม และทำไมจึงเกิดแรงยกที่ปีก
เครื่องบินไอพ่นสามเครื่องยนต์ แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ      เครื่องบินไอพ่นสามเครื่องยนต์ แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ
ถ้าอากาศพัดผ่านวัตถุอันหนึ่ง จะเกิดแรงซึ่งเปลี่ยนหรือพยายามจะเปลี่ยนอาการเคลื่อนไหว หรือทำให้เกิดหรือพยายามทำให้เกิดอาการเคลื่อนไหวในวัตถุนั้นๆ หรืออีกนัยหนึ่ง เมื่อมีแรงซึ่ง เกิดจากอากาศพัดมากระทบวัตถุใดๆ เข้า ก็จะมีแรงต้านเกิดขึ้น ในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ ขนาด และทิศทางของแรงนี้มีส่วนสัมพันธ์กับขนาด รูปร่างของวัตถุและความเร็วของลมที่พัดผ่านนั้น ที่ เป็นดังนี้ก็เนื่องด้วย อากาศที่พัดผ่านนั้นต้องเปลี่ยนอาการไหลไปรอบๆ วัตถุ และเหนียวติดไปกับ วัตถุ จึงเกิดแรงต้านทานขึ้น
อากาศพัดผ่านวัตถุสี่เหลี่ยมตั้งฉากกับทิศทางของลม ลักษณะเช่นนี้จะเกิดแรงต้านทานมาก ที่สุด เมื่ออากาศผ่านไปแล้ว จะเกิดความปั่นป่วนขึ้นข้างหลัง และช่วยดูดเอาวัตถุสี่เหลี่ยมนี้ไว้ ยิ่งกว่านั้น ความกดดันในบริเวณที่ปั่นป่วนนี้จะน้อยกว่ารอบนอก
ถ้าอากาศไหลผ่านลูกกลมซึ่งมีพื้นปะทะเท่ากับพื้นที่ของวัตถุสี่เหลี่ยมอันก่อน แรงต้านทาน จะน้อยลงกว่าที่เกิดกับวัตถุสี่เหลี่ยมในเมื่ออากาศพัดผ่านไปด้วยความเร็วเท่ากัน ทั้งนี้เนื่องจากรูปร่าง ช่วยให้อากาศไหลผ่านไปรอบๆ ได้สะดวก ความปั่นป่วนของอากาศข้างหลังลูกกลมก็น้อยลง จึง ได้ชื่อว่า เพรียวลมดีกว่าวัตถุสี่เหลี่ยม
เมื่อพิจารณารูปเพรียวลมแล้วจะเห็นได้ว่ามีแรงต้านทานน้อยที่สุด หัวของรูปเพรียวลมนี้ ช่วยเปิดช่องทางเดินให้อากาศไหลผ่านไปได้สะดวก ส่วนทางด้านหลังก็ช่วยให้อากาศค่อยๆ คืนตัว เข้าหากัน จึงไม่เกิดความปั่นป่วนขึ้นดังรูปอื่นๆ เพราะฉะนั้นความต้านทานที่เหลือบ้างก็เพียงแต่ ความเหนียวของอากาศ ติดอยู่ตามผิวนอกของวัตถุเพรียวลมเท่านั้น แต่ไม่มีแรงยกเกิดขึ้นเลย
คราวนี้ลองเอาแผ่นราบแบนมาตั้งชันขึ้นเป็นมุมเล็กน้อยกับทิศทางที่อากาศไหลผ่านจะ เกิดกำลังดันขึ้นตั้งได้ฉากกับแผ่นราบนั้น ทั้งนี้เพราะอากาศต้องแยกตัวที่ขอบหน้าแล้วเปลี่ยนทิศ ไหลไปตามพื้นที่ผิวด้านบนและผิวด้านล่าง แล้วจึงรวมตัวเข้าหากันอีกที่ขอบหลังของแผ่นราบนั้น
ส่วนปีกของเครื่องบินจะทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางพัดของอากาศเมื่อปีกเคลื่อนที่ผ่านไป ทั้ง นี้โดยกดอากาศให้พัดอ้อมไปตามแนวชายหลังของปีก ในขณะเดียวกันอากาศก็ดันตอบที่ปีกด้วย กำลังเท่ากัน แต่ในทิศทางตรงกันข้าม อากาศจะพัดผ่านปีกหรือปีกจะเคลื่อนที่ไปในอากาศก็ได้ผล เช่นเดียวกัน ขอแต่ให้ได้ความเร็วพอที่จะให้กำลังดันที่เกิดขึ้นนั้นมาก พอที่จะนำมาใช้เป็นประโยชน์ ได้ เครื่องบินมีน้ำหนักมาก ลมที่พัดอยู่ในอากาศตามปกติไม่มีความเร็วพอที่จะทำให้เกิดแรงยกสู้ กับน้ำหนักถ่วงเครื่องบินได้ เครื่องบินจึงอยู่นิ่งๆ ในอากาศไม่ได้ แต่ต้องเคลื่อนที่ไปเสมอ และ ด้วยความเร็ว พอที่จะได้กำลังมากพอยกตัวเองได้ ขอเน้นอีกครั้งว่าปีกเครื่องบินนี้ไม่ได้ผ่านไปใน   อากาศเฉยๆ แต่กดอากาศให้ไหลลงเบื้องล่างตลอดเวลา ถ้าไม่มีอากาศกดดังว่านี้เครื่องบินจะอยู่ ในอากาศไม่ได้
ถ้าลองพิจารณาเฉพาะแต่ปีกเครื่องบิน โดยไม่กล่าวถึงส่วนอื่นๆ เลย ก็มักจะเรียกปีกนั้น เพียงว่า "แพนอากาศ" ซึ่งอาจให้คำจำกัดความว่า เป็นแผ่นราบแบนๆ ส่วนหนามากทางด้านหน้า และเสี้ยมให้เล็กเรียวลงไป ทางด้านตรงกันข้าม แพนอากาศนี้เป็นลักษณะรูปที่ดีที่สุดในการจะได้ ให้เกิดกำลังดัน กำลังยก ซึ่งตั้งได้ฉากกับผิวโค้งของแพนอากาศนั้น จากความจริงอันนี้จึงเกิดการ ทดลองอย่างขนานใหญ่เพื่อหาแพนอากาศลักษณะต่างๆ ผลของการทดลองก็ได้รูปแพนอากาศดัง แสดงไว้นี้
แพนที่หนึ่งมีส่วนโค้งน้อยแต่หนา มีแรงต้านน้อยเหมาะสำหรับเครื่องบินที่ต้องการ ความเร็วสูงอย่างเครื่องบินขับไล่
แพนที่สองมีส่วนโค้งมาก แต่บาง มีแรงยกมาก เหมาะสำหรับเครื่องบินที่ช้าๆ แต่ บรรทุกได้มากๆ เช่น เครื่องบินลำเลียง
แพนที่สาม มีส่วนโค้งด้านบนงอนขึ้นนั้น มีอาการทรงตัวดีมาก
แพนที่สี่ ส่วนโค้งเปลี่ยนเสมอเหมาะสำหรับสร้างเครื่องบินที่ต้องการความเร็วสูง แต่มีความ เร็วร่อนลงต่ำ
ยังมีแพนอื่นๆ อีกนับเป็นจำนวนพัน แต่ละอันต่างก็มีคุณสมบัติพิเศษประจำตัว แต่จะให้ อันใดอันหนึ่งมีลักษณะดีพอสร้างเครื่องบินได้ทุกแบบนั้น เป็นไปไม่ได้ ในบางโอกาสต้องผสมส่วน ประกอบของแพนอากาศเหล่านี้หลายแพนในปีกเดียว
นอกจากกำลังยกแล้วยังมีกำลังดึงมาข้างหลังปนอยู่อีก ในที่นี้จะเรียกว่ากำลังต้านทาน ซึ่ง คงมีประจำวัตถุทุกชนิดที่ผ่านอากาศ แต่อาศัยการสร้างแพนอากาศให้เป็นรูปเพรียวลมที่สุดที่จะทำ ได้ ดังที่แสดงรูปมาแล้วนั้น จึงช่วยลดแรงต้านลงไปมาก

ขอให้พิจารณาลักษณะและส่วนต่างๆ ของปีกโดยสรุปจากภาพอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้ทำ ความเข้าใจในการเกิดแรงยกต่อไป
ปีกเป็นแพนอากาศ ซึ่งเป็นแผ่นบาง ผิวเรียบ เกือบตอนกลางของภาคตัดขวางหนาที่สุด แล้วค่อยๆ เรียวลงไปหาขอบหน้าและขอบหลัง
คอร์ด เป็นเส้นตรงเชื่อมระหว่างขอบหน้าและขอบหลังแพนอากาศใช้เป็นเครื่องกำหนด ความกว้าง
ผิวด้านบน เป็นผิวเรียบซึ่งมีส่วนโค้งมากที่สุดระหว่างขอบหน้ากับขอบหลังของแพนอากาศ อยู่ด้านบนของคอร์ด
ผิวด้านล่าง เป็นผิวเรียบเช่นเดียวกับด้านบน มีส่วนโค้งน้อยกว่าและอยู่ด้านล่างของคอร์ด
แรงยก เกิดขึ้นบนแพนอากาศ เป็นแรงซึ่งทำมุมตั้งได้ฉากกับทิศทางลมที่พัดผ่านแพน อากาศ
แรงต้าน เกิดขึ้นพร้อมกับแรงยกในขณะกระแสอากาศไหลผ่าน แพนอากาศเป็นแรงที่ขนาน และมีทิศทางเดียวกับทิศทางลม
มุมปะทะ คือ มุมระหว่างเส้นคอร์ดกับทิศทางลมที่พัดผ่านแพนอากาศจากขอบหน้าไปยัง ขอบหลัง ถ้าเพิ่มมุมปะทะสูงขึ้น จะได้แรงยกมากขึ้น แต่ที่จุดวิกฤตของมุมปะทะแรงยกจะสลาย ลงทันที
เมื่อกระแสอากาศไหลผ่านแพนอากาศจากขอบหน้าไปยังขอบหลัง กระแสอากาศส่วนที่ ผ่านไปเหนือผิวด้านบน จะเพิ่มความเร็วขึ้นเนื่องจากความโค้งของปีก ทำให้ความกดดันเหนือผิว ปีกด้านบนลดลง เกิดเป็นแรงดูดซึ่งพยายามยกปีกขึ้น สำหรับกระแสอากาศส่วนที่ไหลใต้ปีกถูกกด ลงเพราะอากาศปะทะกับปีก จึงเพิ่มความกดดันขึ้นเกิดเป็นแรงช่วยยกปีกเสริมกัน หากแต่ความ กดดันใต้ปีกมีส่วนน้อยกว่าแรงดูดขึ้นเหนือปีกเท่านั้น ความกดดันที่กระทำบนผิวปีกโดยรอบไม่เท่า กันตลอด
ในขณะเดียวกัน การที่ปีกเงยขึ้นเล็กน้อย ทำให้เกิดกระแสอากาศผลักขึ้นที่ตอนหน้าของ ขอบหน้า และผลักลงที่ขอบหลังของแพนอากาศด้วย เกิดผลลัพทธ์เป็นแรงยกอีกส่วนหนึ่ง



  
🍂 หาง
มีรูปร่างลักษณะคล้ายปีก แต่มีขนาดเล็กและสั้นกว่า ส่วนสำคัญของหางประกอบด้วยแพน- หางซึ่งติดอยู่กับลำตัวตอนปลายสุด และมีพื้นราบขนานกับปีก ส่วนที่เคลื่อนไหวไม่ได้นี้เรียกว่า แพนหางทางระดับ เกี่ยวไว้ด้วยหางเสือขึ้นลง ซึ่งทำหน้าที่บังคับเครื่องบินให้ไต่ขึ้นหรือ ดำลง หรือหมุนรอบแกนลำตัวทางข้าง ส่วนแพนหางทางดิ่งจะติดตั้งได้ฉากกับแพนหางทางระดับและมีหาง เสือเลี้ยวติดอยู่ ทำหน้าที่บังคับเครื่องบินให้เลี้ยวซ้ายหรือขวา หรือหมุนรอบแกนลำตัวทางดิ่ง


🍂 ใบพัด
ใบพัดของเครื่องบิน ก็เหมือนใบพัดของพัดลมธรรมดานั่นเอง แต่ใหญ่โตกว่า สามารถ ถ่ายทอดแรงหมุนจากเครื่องยนต์มาเป็นแรงดันหรือแรงฉุด โดยที่ใบพัดหมุนผลักหรือดันอากาศมา ทางหลัง ทำให้เกิดกำลังเดินหน้าพาเอาเครื่องบินเคลื่อนที่ไปได้ ใบพัดนี้จะติดเอาไว้ข้างหน้า หรือข้างหลังเครื่องยนต์ก็ได้ แล้วแต่แบบของเครื่องบิน

🍂 ฐานล่าง
มีหน้าที่รองรับน้ำหนักเครื่องบินทั้งเครื่อง ประกอบด้วยล้อหลักหลายล้อ ติดอยู่ที่ด้านล่าง ของลำตัวค่อนไปทางหัวเครื่อง เหล็กหรือล้อรับหางจะรับน้ำหนักตอนท้ายและติดอยู่ด้านล่างของลำ ตัวตอนปลายหางสุด ใกล้ๆ กับส่วนล่างสุดของหางเสือเลี้ยวฐานหลักของเครื่องบินปีกชั้นเดียวซึ่ง เป็นโลหะล้วนทั้งเครื่องอาจจะติดอยู่ที่แกนปีกทั้งสองข้าง ห่างจากลำตัวพอสมควร เหล็กรับหางจะ เปลี่ยนเป็นล้อรับหาง สำหรับเครื่องบินไอพ่น (jet) และเครื่องบินใบพัดบางแบบ ล้อรับหางจะ เปลี่ยนมาติดไว้ที่ ใต้หัวเครื่อง เรียกว่า ล้อรับหัว
เครื่องบินจะลอยตัวไปในอากาศได้นั้น ตัวเครื่องบินจะต้องมีความเร็วไปทางด้านหน้าเพื่อให้ปีกของเครื่องบินปะทะกับอากาศที่ไหลผ่านปีกไปเร็วขึ้น กระแสอากาศที่ไหลมาปะทะผ่านไปทางด้านล่างปีกจะทำให้เกิดแรงดันจากด้านล่างปีกขึ้นไปด้านบน อันเนื่องมาจากความดันของกระแสอากาศด้านบนของปีกจะยิ่งลดลง เมื่อความเร็วของเครื่องบินเพิ่มสูงขึ้น และแรงดันของกระแสอากาศภายใต้ปีกเพิ่มขึ้นจึงดันตัวขึ้นเป็นแรงยกทำให้เครื่องบินสามารถลอยตัวขึ้นไปได้ในอากาศตราบเท่าที่เครื่องบินยังมีความเร็วเพียงพออยู่
           เครื่องบินจะเดินทางไปข้างหน้าได้ก็ด้วยอาศัยแรงขับ (Thrust) ที่มีเครื่องยนต์และใบพัด หรือเครื่องยนต์ไอพ่น ผลักมวลอากาศไปด้านหลัง ทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาขับให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เมื่อเครื่องบินเคลื่อนตัวมีความเร็วไปข้างหน้าก็จะปะทะกับกระแสอากาศเกิดเป็นแรงต้าน (Drag) มีทิศทางสวนไปทางด้านหลังพยายามต้านให้ความเร็วของเครื่องบินลดลง
          แรงดันของอากาศภายใต้ปีกที่เกิดจากกระแสอากาศขณะที่เครื่องบินผ่านอากาศเรียกว่า แรงยก (Lift) น้ำหนักของเครื่องบินรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกทำให้เกิดแรงถ่วงลงข้างล่างสู่พื้นโลก เนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลกเราเรียกว่า แรงโน้มถ่วง (Gravity) ในขณะที่เครื่องบินทำการวิ่งขึ้น (Take Off) แรงขับต้องมากว่าแรงต้าน และแรงยกต้องมากกว่าแรงโน้มถ่วง ในขณะที่เครื่องบินบินตรงระดับ (Level Flight) แรงยกจะเท่ากับแรงโน้มถ่วง ในขณะที่เครื่องบินบินลงสู่สนามบิน(Landing) แรงขับต้องน้อยกว่าแรงต้าน และแรงยกต้องน้อยกว่าแรงโน้มถ่วง
         จากความจริงที่รู้ๆกันโดนทั่วไปว่าเครื่องบินจะบินได้ต้องมีความเร็วไปข้างหน้าด้วยแรงขับจากเครื่องยนต์และใบพัดหรือไอพ่น หากเราทราบต่อไปว่ากระแสอากาศจากความเร็วเครื่องบินทำให้เกิดแรงยกขึ้นที่ปีกได้อย่างไร ก็จะทำให้เราทราบว่า เครื่องบินบินไปในอากาศได้อย่างไร

🍂 ลักษณะของปีกเครื่องบิน
        โดยทั่วไปวัตถุที่มีรูปลักษณะเป็นแผ่น มีความหนาน้อยเมื่อเทียบกับความกว่างและความยาว และสามารถร่อนหรือปลิวไปในอากาศได้ เราเรียกวัตถุนั้นว่า "แอร์ฟอยล์" (Airfoil) ซึ่งนิยมเรียกเป็นภาษาไทยว่า "แพนอากาศ" เช่นแผ่นกระดาษ หรือปีกของเครื่องบิน ปีกของเครื่องบินมีลักษณะเป็นแผ่นมีความยาวของปีกขวางกับแนวแกนของลำตัว เมื่อมองจากด่านบนจะเห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายไม้บรรทัดหรือเป็นแผ่นยาว ปลายโค้งมนเรียว บางแบบก็เป็นรูปสามเหลี่ยม แต่มีอยู่ลักษณะหนึ่งที่เหมือนกันคือ ถ้าราตัดปีกออกตามขวางกับแนวแกนปีก คือให้รอยตัดขนาดกับแนวแกนลำตัว ก็จะมองเห็นรูปร่างของภาคตัดขวางที่คล้ายๆกัน ปีกของเครื่องบินแบบต่างๆจะมีลักษณะของรูปภาคตัดขวาง (Airfoil Section) คล้ายๆกับรูปคิ้วของคนซึ่งก็จะแตกต่างกันไปบ้างเช่นที่เรามองเห็นว่า โค้งมาก โค้งน้อย กว่ากันและขนาดแตกต่างกัน


🍂 เมื่อกระแสอากาศไหลผ่านปีกความกดดันของกระแสอากาศทำให้เกิดแรงยกได้อย่างไร
        มวลกระแสอากาศที่ไหลอย่างต่อเนื่องเมื่อผ่านปีกที่ชายหน้าของปีกก็จะแยกตัวออกเป็น 2 ส่วน ไหลเป็นกระแสอากาศด้านบนและกระแสอากาศด้านล่าง มวลกระแสอากาศที่แยกตัวออกจากกันนั้นจะไหลไปบรรจบกันที่ชายหลังของปีกในเวลาใกล้เคียงกัน อากาศที่ไหลไปด้านบนของปีกที่เป็นรูปผิวโค้งของปีกซึ่งมีระยะทางที่ยาวกว่า จึงมีความเร็วสูงกว่ากระแสอากาศที่ไหลผ่านมาทางใต้ปีก ความกดดันของกระแสอากาศด้านบนปีกจึงลดลงต่ำกว่าความกดดันของกระแสอากาศด้านใต้ปีก ตามหลักการของเบอร์โนลี่ และถ้าหากปีกเอียงทำมุมปะทะกับกระแสอากาศมากขึ้น มวลของกระแสอากาศที่ปะทะและผ่านไปใต้ปีกก็จะยิ่งทำให้ความดันของกระแสอากาศภายใต้ปีกทั้งหมดรวมกันเป็นแรงยกที่ปีก ทำให้เครื่องบินลอยตัวไปได้ในอากาศ
    จึงสรุปได้ว่า เครื่องบินบินไปในอากาศได้ก็เพราะเครื่องยนต์และใบพัดหรือไอพ่นขับดันให้เครื่องบินมีความเร็วไปข้างหน้าทำให้ปีกเครื่องบินผ่านกระแสอากาศที่มีความเร็ว กระแสอากาศที่ปะทะผ่านไปข้างล่างปีกทำให้เกิดแรงดันขึ้นไปข้างบนปีกประกอบกับความดันของกระแสอากาศที่ไหลผ่านปีกไปข้างบนยิ่งลดลงเมื่อความเร็วของกระแสอากาศเพิ่มขึ้นทำให้ความดันของกระแสอากาศข้างใต้ปีกสูงกว่าข้างบนปีกขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเครื่องบินมีความเร็วมากพอ ความดันของกระแสอากาศที่ปะทะผ่านไปทางใต้ปีกทั้งหมดรวมกันจะเพิ่มขึ้นเป็นแรงยกที่ปีกมากพอ ทำให้เครื่องบินลอยตัวไปในอากาศได้ตราบเท่าที่เครื่องบินยังมีความเร็วเพียงพออยู่

🍂 พื้นที่บังคับการบิน

🍂 Aileron : เป็นพื้นผิว ที่เคลื่อนไหวได้ใช้ในการควบคุม ท่าทาง ของ เครื่องบิน ติดตั้งอยู่ที่ ชายปีกหลัง ส่วนของปลายปีก ทั้งสองข้าง จุดมุ่งหมายเพื่อ ควบคุมอาการเอียงของเครื่องบิน หรือเคลื่อนที่รอบแกน Longitudinal Axis โดยสร้างความแตกต่าง ของแรงยกบนปีกทั้งสองข้างของเครื่องบิน เมื่อเราใช้พื้นที่บังคับการบินนี้ควบคุมการบิน เช่นโยกซ้ายหรือขวา ก็จะส่งผลให้ตัวเครื่องบินหมุนตัวรอบแกนลำตัว

🍂 Elevator : เป็นพื้นผิว ที่ ขยับ เคลื่อนไหว ได้ ใช้ ในการ ควบคุม ลักษณะบิน ของเครื่องบิน ออกแบบมา เพื่อใหัเครื่องบิน ยกหัวขึ้นหรือลง หรือเคลื่อนที่รอบแกน Lateral Axis ติดตั้งอยู่ที่ชายหลังของแพนหาง

🍂 Flap : ติดตั้งอยู่ที่ชายปีกหลัง ใกล้กับลำตัว จะเป็นใน ลักษณะ คล้าย บานพับ หรือ แบบเลื่อนถอยออกไปก็ได้ เพื่อเพิ่ม หรือลด แรงยกของปีก โดยเพิ่มพื้นที่ และความโค้งของปีก โดยปกติแล้ว จะใชัตอนจะบินขึ้น และตอนลง

🍂 Rudder : เป็นพื้นผิวที่เคลื่อนไหวได้ ติดตั้งอยู่ที่ชายหลัง ของกระโดงหาง ทำให้หัวเครื่องบิน หันไป ทางซ้าย หรือขวา หรือเคลื่อนที่รอบแกน Vertical Axis

🍂 Rudder Pedal : เป็นส่วนที่นักบินใช้ควบคุมการทำงานของ Rudder ติดตั้งอยู่ที่พื้น นักบินจะใช้เท้าเหยียบ สองเท้า ถ้าเหยียบเท้าซ้าย เครื่องบิน ก็จะหันไปทางซ้าย ถ้าเหยียบ เท้าขวา เครื่องบินก็จะหันไปทางขวา เพราะว่ามันไปควบคุม Rudder

🍂 Stabilizer : เป็นพื้นผิวที่อยู่ กับที่ เพื่อช่วยให้เครื่องบิน รักษา ลักษณะ ท่าทางการบินได้คงที่ ได้แก่กระโดงหาง ( Vertical Stabilizer) และ แพนหาง ( Horizontal Stabilizer) สำหรับ แพนหางนั้น สามารถปรับแต่งระดับได้ ( Adjustable)

🍂 การควบคุมทิศทางการบิน

🍂 แกนของการหมุน  เครื่องบิน มีแกนของการหมุน อยู่สามแกน เรียกชื่อว่า แกน longitudinal , แกน vertical , และ แกน lateral . ดูรูปภาพ ข้างล่างประกอบ แล้วคุณจะเข้าใจ วิธีที่ง่าย ที่จะเข้าใจ แกนเหล่านี้ ง่ายๆคือ คิดว่า มีไม้อันยาวมาเสียบผ่านเครื่องบิน จากหัวเครื่องบิน, จากปีกเครื่องบิน, และอีกอันผ่านจุดที่มีไม้ สองอันตัดผ่านกันอยู่ และจุดที่ไม้สามอันตัดผ่านกันนั้น ดังรูป เราถือเอาว่าคือจุดศูนกลาง ที่น้ำหนักทั้งหมดของเครื่องบิน จะกระทำที่จุดนี้ (center of gravity).
แกนตามยาว ตั้งแต่หัวไปจรดหาง เรียกว่า แกน longitudinal axis, และการ หมุน หรือ เคลื่อนที่ของลำตัว รอบแกนนี้ เราเรียกลักษณะ เช่นนี้ว่า " Roll "
แกนขวางจากปีกข้างหนึ่งไปยังปีก อีกข้างหนึ่ง เรียกว่า แกน lateral axis, และการหมุน หรือ เคลื่อนลำตัว รอบจุดนี้ เราเรียกลักษณะ เช่นนี้ว่า " Pitch "
แกนในแนวตั้ง ที่ผ่านจุดที่เรียกว่า center of gravity (เมื่อเครื่องบิน บินอยู่ในแนวระดับ ) เราเรียกว่า แกน vertical axis, และการหมุน หรือเคลื่อนที่ ของลำตัวรอบจุดนี้ เราเรียกลักษณะเช่นนี้ ว่า " Yaw "

💓 แกน Longitudinal Axis:
แกนที่วิ่งจาก หัวเครื่องบิน จนถึงหางเครื่องบิน คือ แกน longitudinal axis ( ดูภาพข้างบนประกอบ ). การเคลื่อนที่รอบแกนนี้ เรียกว่า Roll. ลักษณะ ที่เครื่องมีอาการ Roll เป็นผลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของ ailerons. Ailerons ติดตั้งอยู่ที่ปลายปีก และควบคุมโดย control column ในห้องนักบิน และสร้างมาในลักษณะ ที่ aileron ข้างหนึ่ง กระดก ลงล่าง แต่อีกข้างหนึ่ง จะกระดกขึ้นบน.
     เมื่อ aileron มีการเคลื่อนไหว จากตำแหน่งศูนย์ หรือตำแหน่งแนวระดับ , จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ลักษณะ แรงยกของปีกเครื่องบินทั้งสองข้าง การทำให้ปีก ครื่องบินยกขึ้น, aileron ของปีกนั้น ต้องกระดกลง . ปีกที่มี aileron กระดกลงก็จะทำให้แรงยกบนปีกนั้นเพิ่มขึ้น และ ปีกที่มี aileron กระดกขึ้น ก็จะมีแรงยกลดลง สิ่งนี้จะทำให้เครื่องบินเอียงไป ทางด้านที่ aileron กระดกขึ้น ailerons ของปีกทั้งสองข้างต่อไปยัง control column ในห้องนักบินโดยระบบ mechanical linkage. เมื่อ เมื่อคันบังคับหมุนไปทางขวา ( หรือโยก คันบังคับ ไปทางขวา ), aileron ทางปีกขวา จะกระดกขึ้น และ aileron ทางปีกซ้ายจะกระดกลง ผลที่เกิดขึ้น ก็คือ แรงยกทางปีกซ้ายจะเพิ่มขึ้น และ แรงยกทางปีกขวา จะลดลง เป็นเหตุให้เครื่องบิน เอียงไปทางขวา. แต่ถ้าหมุนคันบังคับไปทางขวา ( หรือโยก คันบังคับ ไปทางซ้าย ) แรงบนปีกก็จะเกิดตรงกันข้าม เป็นเหตุให้เครื่องบินเอียงไปทางซ้าย

💓 แกน Lateral Axis
แกน lateral axis เริ่มจากปลายปีกถึงปลายปีก ลักษณะการเคลื่อนไหวรอบแกน lateral axis เรียกลักษณะ นี้ว่า pitch อะไร เป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบ pitching มันคือ elevator ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ แพนหาง ( horizontal stabilizer). elevator สามารถกระดกขึ้น หรือกระดกลงได้ เมื่อนักบินบังคับคันบังคับ ( control column or stick) ถอยหลัง หรือไปข้างหน้า.
การดึง คันบังคับมาข้างหลัง จะบังคับให้ elevator กระดกขึ้น. (ดูรูปภาพข้างบน ประกอบ) ลมที่ประทะกับพื้นผิวด้านบนของ elevator ที่กระดกขึ้น ทำให้เกิดแรงกดมากขึ้น เป็นเหตุให้ส่วนหางของเครื่องบิน ถูกกดลง การเคลื่อนไหวรอบแกน lateral axis, เมื่อหางเคลื่อนที่ลง (pitches) , ส่วนหัวของเครื่องบิน (pitches) เชิดขึ้น เครื่องบินไต่ระดับ .
การผลัก คันบังคับไปข้างหน้า เพื่อบังคับ elevator ให้กระดกลง . ลมที่ประทะ กับพื้นผิวด้านล่างของ elevator ที่กระดกลง ทำให้เกิดแรงด้านล่างมากขึ้น กว่าด้านบน เป็นเหตุให้ส่วนหาง ของเครื่องบินกระดกขึ้น ( pitch up ) และ หัวของเครื่องบินกระดกลง เป็นเหตุให้หัวเครื่องบินดิ่งลง


💓 แกน Vertical Axis:
แกนที่สาม ซึ่งผ่านจากหลังคาด้านบน ทะลุท้องเครื่องบิน เรียกว่า แกน vertical หรือ yaw axis. หัวเครื่องบิน เคลื่อนที่ ไปรอบแกนนี้ จากด้านข้างหนึ่ง ไปอีกด้านข้างหนึ่ง Rudder ของเครื่องบิน ซึ่งเคลื่อนไหว โดยการที่นักบิน ใช้เท้าเหยียบไปบน แผ่น rudder ที่อยู่บนพื้น rudder ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ของเครื่องบินรอบแกนนี้ Rudder เป็นแผ่นบังคับ ที่เคลื่อนไหว ติดอยู่กับกระโดงหาง การเหยียบลงบน ( rudder pedal ), แผ่นบังคับด้านขวา rudder ก็จะตวัดไปทางขวา, เหยียบ แผ่นบังคับที่พื้น ไปทางซ้าย จะบังคับให้ rudder ตวัด ไป ทางซ้ายt, เมื่อนักบิน เหยียบแผ่นบังคับทางซ้าย, นั่นหม ายความว่า ถ้านักบิน กำหนดทิศทางของ Rudder ให้ตวัดไปทาง ทางซ้าย นี่ก็ทำให้เกิดแรงกระทำต่อหาง แผ่นหางของเครื่องบิน หางของเครื่องบินก็จะเบนไปทางขวา และ หัวของเครื่องบิน ก็จะเบนไปทางซ้าย( yaw to the left).

💓 เครื่องบินบินได้อย่างไร?
เครื่องบินจะลอยตัวและบินไปได้ ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญสี่ประการ คือ
๑. บ่อเกิดแห่งกำลัง ได้แก่ เครื่องยนต์ซึ่งจะหมุนใบพัดให้เกิดแรงฉุดหรือดันเครื่องบินให้ เคลื่อนที่ไป แรงฉุดหรือดันนี้ ต้องมากพอ ที่จะเอาชนะแรงต้าน ซึ่งจะรักษาสภาพอยู่นิ่งของเครื่องบิน ไว้บ่อเกิดแห่งกำลังของเครื่องยนต์ไอพ่น  สำหรับแรงขับเคลื่อนเครื่องบินไอพ่น คือ แรงปฏิกิริยาหรือแรงโต้ตอบของแรงผลักของก๊าซ ร้อนซึ่งเกิดจากการเผาไหม้และพลุ่งออกทางหางของเครื่องบิน
๒. พื้นที่ให้กำลังยกหรือแรงยก ได้แก่ ปีกซึ่งพยุงยกเครื่องบินเอาไว้ในอากาศ
๓. เครื่องบังคับต่างๆ ซึ่งทำให้เครื่องบินเลี้ยวไปในทิศทางต่างๆ หรือไต่ขึ้นและร่อนลง สู่จุดหมายใดๆ ได้ตามความประสงค์ของนักบิน
๔. ส่วนประกอบที่เป็นโครงของเครื่องบิน ได้แก่ ลำตัว ซึ่งเป็นที่สำหรับบรรทุกสิ่งต่างๆ และเป็นเครื่องยึดชิ้นส่วนอื่นๆ เช่น ใบพัด ปีก หาง ทั้งยังเป็นตัวการช่วยถ่วงให้เกิดความสมดุลของแรงต่างๆ ที่จะทำให้เครื่องทรงตัวอยู่ได้   บ่อเกิดแห่งกำลังของเครื่องยนต์ ๙ สูบ รูปดาว
สำหรับฐานและล้อรับหางนั้น มีหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักเอาไว้เมื่อเครื่องบินจอดอยู่บนพื้นดิน
เนื่องจากปีกมีคุณสมบัติทำให้เกิดแรงยก ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว เมื่อเครื่องบินเคลื่อนที่ไป ข้างหน้าด้วยแรงฉุดของใบพัด จนกระทั่งกระแสอากาศไหลผ่านผิวปีกทั้งสองด้านด้วยความเร็วเหมาะ สม เครื่องบินก็จะลอยตัวขึ้นจากพื้นด้วยแรงยก ซึ่งเกิดขึ้นบนปีกทั้งสองข้าง และสามารถบินอยู่ใน อากาศได้
ถ้าลดแรงฉุดของใบพัดลง กระแสอากาศที่ไหลผ่านปีกก็จะลดความเร็วลงด้วย เป็นเหตุให้ แรงยกซึ่งเกิดขึ้นบนปีกต้องลดลงตาม ทำให้เครื่องบินไม่สามารถเกาะอากาศอยู่ต่อไปอีก และต้อง เสียระยะสูงลงเรื่อยๆ
ลำตัวที่กำลังสร้าง ขณะที่เครื่องบินกำลังลอยอยู่ในอากาศ ถ้ากระแสอากาศที่ไหลผ่านปีกเกิดลดความเร็วลง จนกระทั่งถึงจุดหนึ่ง ซึ่งแรงยกไม่สามารถจะพยุงเครื่องบินทั้งเครื่องไว้ได้แล้ว เครื่องบินจะร่วงหล่น คือไม่สามารถเกาะอากาศอยู่ต่อไปได้อีก และจะตกลงสู่พื้นดินตามแรงดึงดูดของโลก ฉะนั้นสิ่ง สำคัญที่สุดขณะกำลังบินอยู่ในอากาศ คือ ไม่ว่าเครื่องยนต์จะยังทำงานอยู่หรือไม่ก็ตาม จะต้องรักษาความเร็วของอากาศที่ไหลผ่านผิวปีก หรืออีกนัยหนึ่งรักษาความเร็ว ของเครื่องบินไว้เหนือความเร็วร่วงหล่นเสมอจึงจะปลอดภัย
การขับเครื่องบินไม่ยากไปกว่าการขับยานพาหนะอื่นๆ เมื่อเครื่องยนต์เดินเรียบร้อยแล้ว นักบินจะวิทยุไปที่หอบังคับการบิน เพื่อขออนุญาตขับเครื่องบินไปตั้งตัวที่ปลายทางวิ่ง ณ ที่นี้ นัก บินจะตรวจสอบทดลองการทำงานของชิ้นส่วน เครื่องวัด และอุปกรณ์จำเป็นทุกรายการที่เขียนไว้ ในคู่มือของเครื่องบิน แบบนั้นๆ เมื่อหอบังคับการบินพูดวิทยุอนุมัติให้ขึ้นบินได้ นักบินจะเริ่มเร่ง เครื่องยนต์ให้เครื่องบินเคลื่อนที่ออกวิ่งทวนลม นักบินต้องใช้มือและเท้าแตะไว้ที่คันบังคับ คอย เลี้ยงเครื่องอย่างเบาๆ ให้เครื่องวิ่งตรงอยู่ในทาง ไม่เซไปเซมา เครื่องจะค่อยๆ เร็วขึ้น เร็วขึ้น จนกำลังยกมากกว่าน้ำหนักเมื่อใด เครื่องบินก็จะลอยตัวขึ้นสู่อากาศ ณ ระยะสูงที่ปลอดภัย นัก บินจะเบาเครื่องเครื่องยนต์ลงตามเกณฑ์ในคู่มือ พับฐานเก็บล้อเพื่อให้แรงต้านทานน้อยลงแล้วจะ ได้รับความเร็วเพิ่มขึ้นเองอีกด้วย ตอนนี้นักบินจะวิทยุบอกหอบังคับการบินว่า เครื่องบินได้ขึ้นสู่ อากาศเรียบร้อยทุกอย่างแล้ว และขอเลิกติดต่อกับสนามบิน เจ้าหน้าที่ควบคุมพื้นที่การบิน ต้อง ทราบตำบลที่อยู่ในอากาศของเครื่องบินทุกเครื่อง ดังนั้น นักบินจึงต้องใช้วิทยุรายงานมาตามระยะ เวลาที่กำหนดไว้ในแผนปูมเดินอากาศว่า ได้บินอยู่ในระยะสูงเท่าใด ทิศทางใด ความเร็วเท่าใด และ ขณะนั้นบินอยู่เหนือตำบลอะไร เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยผู้บังคับเครื่องบินจะเปิดเครื่องจักรกลชื่อว่า นักบินอัตโนมัติ ให้ปฏิบัติงานแทนมนุษย์ ผู้ซึ่งคอยตรวจดูเพียงให้เข็มต่างๆ ของเครื่องวัดชี้ที่ช่องสีเขียวตลอดเวลา ซึ่งเป็นการผ่อนแรงดีมาก
เมื่อใกล้ที่หมายปลายทาง นักบินจะลดความสูงลงทีละน้อยพร้อมๆ กับวิทยุเรียกหอบังคับ การบินของสนามบินนั้นๆ เพื่อขอนำเครื่องลง วงจรรอบๆ แต่ละสนามมีกฎเกณฑ์ วิธีการดำเนินการต่างกัน ซึ่งผู้มาเยี่ยมจะต้องศึกษา และปฏิบัติตามข้อปลีกย่อยทุกอย่าง นักบินจะเหยียดฐานและล้อลงแล้ว รายงานหอบังคับการบินอีกว่า กำลังร่อนทวนลมตรงมายังทางวิ่งท้ายสนามบินตามคำสั่งเมื่อใกล้พื้น นักบินจะผ่อนเครื่องยนต์ให้เดินเบาที่สุด เงยหัวเครื่องบิน เพื่อให้กำลังยกลดน้อยลงกว่าน้ำหนัก ณ จุดนั้นก็บังคับเครื่องบินทอดตัวให้ล้อแปะที่พื้นปลายทางวิ่งพอดี ด้วยแรงเฉื่อยที่เหลืออยู่ เครื่องบินจะวิ่งต่อไปอีก นักบินจะต้องใช้มือและเท้าประคองเลี้ยง ไม่ให้มีอาการเซหรือเลี้ยวออก นอกทาง แต่ในเวลาเดียวกันก็ค่อยๆ ห้ามล้อให้เครื่องวิ่งช้าๆ แล้วนำมาจอดในลานที่หอบังคับ การบินกำหนดให้ เมื่อดับเครื่องยนต์ปิดสวิตซ์ต่างๆ แล้ว ก็ได้ชื่อว่า ทำการบินอย่างปลอดภัย
   เทคโนโลยีที่ต่อต้านกองกำลังของธรรมชาติอย่างหนึ่ง คือการทำให้วัตถุหนักหลายร้อยตันลอยอยู่กลางอากาศ ซึ่งจะต่อต้านแรงในทางธรรมชาติที่พยายามดึงวัตถุต่างๆให้อยู่บนพื้นโลก การที่อากาศยานทุกชนิดจะลอยอยู่และเดินทางไปในอากาศได้นั้นมีแรงทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องอยู่ 4 ชนิดคือ
แรงขับดัน (Trust) เป็นแรงที่สนับสนุนให้เกิดการลอยอยู่และเดินทางไปในอากาศ
แรกยกตัว (Lift) เป็นแรงที่สนับสนุนให้เกิดการลอยอยู่และเดินทางไปในอากาศ
แรงดึงดูดของโลก (Gravity) เป็นแรงที่ต่อต้านการลอยอยู่และเดินทางไปในอากาศ
แรงต้าน (Drag) เป็นแรงที่ต่อต้านการลอยอยู่และเดินทางไปในอากาศ
ในขณะที่อากาศยานลอยตัวอยู่นิ่งๆ ด้วยความเร็วและทิศทางคงที่ แรงทั้งสี่นี้จะอยู่ในสภาวะที่สมดุลย์
แรงขับดัน (Trust)
แรงขับดันเกิดจากเครื่องยนต์ของอากาศยาน สร้างแรงบิดหมุนใบพัดผลักดันอากาศ(หรืออากาศผสมเชื้อเพลิงในกรณีเครื่องยนต์เจ็ท)สร้างแรงขับดันให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เมื่อใบพัดของเครื่องบินตัดผ่านอากาศจะเกิดแรงผลักดันขึ้นที่ตัวใบพัด และนี่คือแรงที่ผลักดันให้เครื่องบินลอยสู่อากาศ เราสามารถเพิ่ม แรงขับดันได้โดยการใช้ คันเร่ง (throttle)เพื่อเพิ่ม กำลังให้กับเครื่องยนต์ เมื่อกำลังเพิ่มขึ้น จะทำให้ แรงขับดันมีค่ามากกว่า แรงต้าน จึงทำให้เครื่องบินมีอัตราเร่ง จึงที่ให้เครื่องบินมีความเร็วเพิ่มขึ้น ส่วน แรงต้านนั้นเมื่อ แรงขับดันเพิ่มขึ้น แรงต้านก็จะเพิ่มตาม
จนกระทั่งมีค่าเท่ากับ แรงขับดัน ก็จะทำให้ความเร็วอากาศ (airspeed)คงที่ ที่ความเร็วที่สูงกว่าเดิม ณ ตำแหน่งนี้ก็จะเกิด สภาวะสมดุลย์ อีกครั้ง เมื่อเรา ลดแรงขับดัน จะทำให้ แรงต้านเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุให้ ความเร็วอากาศ ลดลง ทำให้เครื่องบินช้าลง เมื่อแรงต้านลดลงจนกระทั่งเท่ากับ แรงขับดัน ความเร็วอากาศก็จะคงที่ นั่นคือ การอยู่ใน สถานะสมดุลย์ อีกครั้ง

💓 แรงยกตัว (Lift)
เป็นแรงหลักในระบบอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic) โดยที่แรงนี้จะมีทิศทางตรงกันข้ามกับแรงดึงดูดของโลก ในการบินตรง บินระดับ (straight-and-level) เมื่อ แรงดึงดูดของโลก กับ แรงยกตัว มีค่าเท่ากัน เครื่องบินก็จะรักษาระดับเดิมไว้ ได้ แต่ถ้ามีแรงในระบบอากาศพลศาสตร์ อื่นๆ มากระทำต่อเครื่องบิน จะทำให้ เครื่องบิน มีการเปลี่ยนแปลง อาจจะสูงขึ้น หรือ ลดระดับลงแล้วแต่แรงที่มากระทำ ในขณะนั้น
แรงยกตัวเกิดขึ้นเนื่องจากการไหลของอากาศบริเวณทั้งส่วนเหนือและใต้พื้นผิวของปีก ปีกจะถูกออกแบบมาเพื่อให้มีผิวตามหน้าตัด (Cross Section) ที่มีระยะห่างระหว่างจุด A ถึง B ทางด้านบนยาวกว่าทางด้านใต้ปีก อากาศด้านบนจึงต้องเเดินทางจาก A ถึง B ด้วยความเร็วที่สูงกว่าที่ด้านใต้ของปีกซึ่งจะสร้างความแตกต่างในความกดอากาศระหว่างด้านบนและด้านล่างของปีกเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Bernoulli Effect ซึ่งจะส่งผลให้มีความดันอากาศที่ใต้ปีกมากกว่าความดันอากาศที่เหนือปีกความดันที่แตกต่างกันจึงเกิดเป็นแรงยกตัว และหากเครื่องบินกำลังเอียงเพื่อทำวงเลี้ยว, แรงยกตัวจะเกิดขึ้นในทิศทางด้านข้างเล็กน้อย ถ้าอากาศยานบินในท่าทางที่กลับหัวแรงยกตัวจะทำงานเสริมกับแรงดึงดูดของโลกดึงให้เครื่องบินเคลื่อนที่ในทิศทางของพื้นโลก แรงยกตัวจะกระทำที่ส่วนกลางของปีกโดยคล้อยไปทางด้านหลังเล็กน้อย
การสร้างและการเพิ่มแรงยกตัวทำได้สองวิธีคือ
โดยการเพิ่มความเร็วของอากาศที่ไหลผ่านผิวปีก ให้มีความเร็วมากขึ้น
โดยการเพิ่มมุมปะทะ

หลายปัจจัยที่กำหนดวิธีการยกมากถูกสร้างขึ้น ก่อนพิจารณามุมที่ปีกกระทบอากาศ นี้เรียกว่ามุมของการปะทะที่เป็นอิสระจากเวกเตอร์เส้นทางการบินของเครื่องบิน มุมนี้ยกขึ้นเกิดขึ้นมากเท่าใดแรงยกก็จะมากขึ้นเท่านั้น แต่ในมุมที่สูงชันกว่า 30 องศา แต่ลมที่ผ่านปีกมีความเร็วช้าลงหรือหยุดชะงัก และเครื่องบินจะเกิดอาการร่วงหล่น (Stall) เกิดขึ้นเนื่องจากไม่มีแรงยกตัว เครื่องบินตกอยู่ในการจิกหัว (Dive) และเครื่องบินจะสามารถกลับมาสู่สภาวะปกติได้ก็ต่อเมื่อมีความเร็วของลมที่ผ่านปีกมีปริมาณสูงพอ

💓 แรงต้าน (Drag)
ลากตรงข้ามกับแรงผลักดัน แม้ว่าส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากแรงต้านของอากาศเป็นอากาศไหลไปรอบปีกหลายประเภทของการลากอยู่ ลากถูกสร้างขึ้นส่วนใหญ่โดยแรงเสียดทานผิวง่ายๆเป็นโมเลกุลของอากาศ "ติด" กับพื้นผิวปีก พื้นผิวที่เรียบทำให้เกิดการลากน้อยลงในขณะที่โครงสร้างใหญ่สร้างลากเพิ่มเติม
ลากบางคนมีอะไรจะทำอย่างไรกับแรงต้านของอากาศและเป็นจริงผลที่สองของลิฟท์ เพราะยกมุมข้างหลังเล็กน้อยก็เป็นได้ทั้งสองขึ้นแรงในแนวตั้งและแนวนอนแรงถอยหลัง ส่วนด้านหลังเป็นลาก ประเภทของการลากก็คือการเหนี่ยวนำด้วยความเร็วที่ใกล้จักร 1 เมื่อความแตกต่างความดันเริ่มต้นการสร้างขึ้นระหว่างพื้นผิวด้านหน้าและด้านหลังของแพนอากาศ ความดันในด้านหน้าของปีกมีค่ามากกว่าความดันที่อยู่เบื้องหลังปีกที่สร้างแรงสุทธิที่ตรงข้ามกับการแทง ในเครื่องบิน WW II, ประเภทสุดท้ายของการลากนี้เกิดขึ้นเฉพาะในระหว่างการดำน้ำเป็นเวลานาน

💓 แรงโน้มถ่วง (GRAVITY)
แรงโน้มถ่วงเกิดจากความเร่งธรรมชาติที่เกิดจากโลก สสารทุกชนิดบนพื้นโลกจะได้รับแรงโน้มถ่วงกระทำ ทำให้เกิดความเร่งเท่ากันในแนวเข้าหาแกนโลกคือแนวลงสู่พื้น การที่เครื่องบินจะลอยตัวจากพื้นโลกได้จำเป็นจะต้องมีแรงลอยตัวสูงกว่าแรงโน้มถ่วงที่เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงจะถูกสร้าง

💓 G-Force
"G"คือหน่วยของแรงที่เปรียบเทียบเป็นจำนวนเท่ากับแรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำกับวัตถุนั้นๆ วัตถุที่เคลื่อนที่บนพื้นผิวโลก แรงโน้มถ่วงจริงหมายถึงน้ำหนักของวัตถุ (เท่ากับมวลคูณกับความเร่งหรือF = ma.)เครื่องบินที่บินในระดับความสูงไม่มากมั้กจะได้รับประสบการณ์ประสบการณ์ของความแรงขนาด 1GแรงGเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในความเร็วหรือในทิศทางของการเคลื่อนไหว เครื่องบินที่ทำการเลี้ยวด้วยวงเลี้ยวที่แคบมากๆที่ความเร็วระดับปานกลางถึงความเร็วสูง หรือการบินแบบฉวัดเฉวียน อาจจะเกิดเป็นปรากฎการ แรงGซึ่งเป็นได้ทั้งบวกหรือลบ. บวกGทำให้คุณรู้สึกหนักเพราะเกิดแรงกระทำในทิศทางลง พวกเขาผลักดันให้คุณกลับเข้ามาในที่นั่งของคุณและส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนที่คมหรือปีนขึ้นไปที่สูงชัน.Gเชิงลบทำให้คุณรู้สึกเบาเพราะพวกเขากำลังดึงในทิศทางที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับ เมื่อคุณอยู่ในบินแบบปักหัวลงแบบสูงชันซึ่งจะทำให้เกิดแรงที่ผลักเราออกจากเก้าอี้นั่ง ทิศทางของ แรงGที่จะสัมพันธ์กับตำแหน่งของอากาศยานถ้าคุณกำลังบินคว่ำลง, Gขึ้นจริงดึงในทิศทางที่ลดลง

💓 น้ำหนักเสมือน
น้ำหนักเสมือนหมายถึงความหนักที่เกิดขึ้นกับวัตถุหลังจากที่ได้พิจารณาถึงปริมาณและทิศทางของแรงGแล้ว เช่นในเที่ยวบินหนึ่งเกิดแรงGในปริมาณ 1Gกระทำกับเครื่องบินและนักบิน แรงดังกล่าวจะมีปริมาณเท่ากับน้ำหนักของพวกเขาในสภาพหยุดนิ่ง ถ้าหากนักบินทำให้การบินใต่ระดับแบบสูงชันจนเกิดแรงGแบบบวกจะทำให้นักบินรู้สึกว่าตัวเขามีน้ำหนักมากขั่วคราว แรงGจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของความเร่งอย่างฉับพลันและจะส่งผลกับวัตถุในลักษณะของน้ำหนักเสมือน

💓 ผลกระทบทางกายภาพของแรง G
ร่างกายมนุษย์สามารถทนต่อแรงGได้ประมาณ 9 หรือ 10Gในทางบวกหรือ 2 ถึง 3 สามGในทางลบ ได้นานหลายวินาทีในเวลา สำหรับ แรงGในแนวบวกในเวลาที่ยาวนานจะเป็นสาเหตุของการสะสมของเลือดในส่วนล่างของร่างกายและลำตัว ทำให้สมองและเรตินาได้รับเลือดน้อยลงจึงได้รับออกซิเจนน้อย ในที่สุดจะเกิดอาการมองเห็นภาพเป็นสีเทาตามอาการหมดสติของนักบิน ส่วนแรงGในทางลบมากเกินไปจะมีผลที่คล้ายกันยกเว้นว่าจะเกิดการสะสมของเลือดในสมองและลำตัวท่อนบน ทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ในดวงตาบวมสร้างผลกระทบให้เกิดอาการตาแดงจากเส้นเลือดฝอยในตาแตก

💓 VECTORS ของการเคลื่อนที่

💓 พิช(Pitch)
คือการเคลื่อนไหวของเครื่องบินในแนวขึ้นและลงของจมูกเครื่องบิน โดยมีการเคลื่อนที่เป็นแบบการหมุนรอบเส้นแกนสมมุติที่ลากระหว่างจากปลายปีกทั้งสองข้าง เมื่อนักบินดึงคันบังคับเข้าหาตัว เอเลเวเตอร์ หรือปีกบังคับระดับที่หางจะขยับลงทำให้จมูกของเครื่องบินขยับสูงขึ้น และเมื่อนักบินผลักคันบังคับเข้าหาตัว ตัว เอเลเวเตอร์ หรือปีกบังคับระดับที่หางจะขยับขึ้นทำให้จมูกของเครื่องบินขยับลง

💓 ยอว์ (Yaw)
การหมุนจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งของจมูกรอบแกนแนวตั้งผ่านศูนย์กลางของอากาศยานเครื่องบิน เป็นการเปลี่ยนแปลงทิศทางของเที่ยวบินในแนวนอน แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระดับความสูง โดยทั่วไปนักบินปรับมุมของใช้หางเสือไปทางซ้ายหรือขวาซึ่งสร้างหันเห

💓 โรล (Roll)
เมื่อมีการปรับ แอรอน(Aileron)ขึ้นหรือลงเครื่องบินจะยังคงรักษาทิศทางตรงไปข้างหน้าเหมือนทิศทางการเดินทางที่ผ่านมา แต่เครื่องบินจะหมุนรอบๆแกนสมมุติกลางลำตัวที่ลากจากปลายจมูกของเครื่องบินไปยังส่วนหาง การโรลของเครื่องบินนั้นเกิดมาจากโยกคันบังคับไปทางซ้ายหรือขวาทำให้เกิดการปรับ แอรอนในส่วนของปีกด้านซ้ายและขวาในทางตรงข้ามกันส่งผลให้เกิดแรงยกที่ปีกในทิศตรงกันข้าม ส่งผลให้เครื่องบินหมุนรอบแกนลำตัวตามยาว

💓 แบงค์ (Bank)
เมื่อเครื่องบินจะทำการเลี้ยวในสถานการณ์จริง เครื่องบินมักจะไม่ใช้วิธีการยอว์(Yaw)เนื่องมาจากความเร็วของเครื่องบินจะทำให้หางเสือ(Rudder)รับแรงปะทะที่มากเกินไป การเลี้ยวของเครื่องบินมักจะทำโดยการ โรล และ พิช ในเวลาเดียวกัน เรียกว่าการเลี้ยวโดยการ แบงค์ เช่น การเลี้ยวซ้ายจะสามารถทำได้โดยการ พิชเครื่องบินขึ้นและโรลไปทางซ้ายในเวลาเดียวกัน ข้อเสียของการเลี้ยวโดยวิธีการแบงค์คือ เครื่องบินจะสูญเสียทั้งความเร็วและแรงยกทำให้เครื่องบินลดระดับ ดังนั้นในการทำเลี้ยวด้วยวิธีการแบงค์นักบินมักจะต้องเร่งเครื่องยนต์เพื่อสร้างแรงขับดันเป็นพิเศษ

💓 ปีกที่ขยับได้ (Control Surface)
ปีกที่ขยับได้ของเครื่องบินทั้งหมดใช้ในการบังคับทิศทางและท่าทางการบินทำงานได้โดยใช้หลักการสร้างแรงยกในทิศต่างๆกัน แรงยกต่างๆเหล่านี้บางครั้งจะทำงานอิสระต่อกัน และในบางครั้งจะทำงานเสริมกัน เพื่อปรับท่าทางการบิน ท่าทางการบินที่ได้จะเป็นผลรวมของแรงยกทั้งหมดที่เกิดจากปีกที่ขยับได้ทุกชิ้น

💓 แอเลเวเตอร์ (Elevator)
แอเลเวเตอร์คือส่วนของปีกหางที่สามารถขยับขึ้นลงได้ในแนวระนาบ โดยที่ส่วนหางโดยรวมของเครื่องบินมีหน้าที่รักษาเสถียรภาพของเครื่องบิน ส่วนหางที่ขยับได้จะช่วยในการสร้างแรงยกเพื่อการ พิช ของเครื่องบิน เมื่อเครื่องบินต้องการพิช นักบินจะค่อยๆดึงคันบังคับหรือผลักไปด้านหน้า เพื่อปรับมุมของแอเลเวเตอร์ การพิชในเวลากระชั้นชิดอาจจะเป็นการเพิ่มขนาดของมุมปะทะในเวลารวดเร็วซึ่งจะเป็นสาเหตุของการร่วงหล่นของเครื่องบินได้

💓 หางเสือ (Rudder)
หางเสือเป็นส่วนประกอบในแนวตั้งปรากฎอยู่ที่ส่วนหางของเครื่องบิน ในส่วนหลังของหางจะประกอบด้วยหางเสือซึ่งเป็นปีกที่ขยับไปมาได้ในแนวตั้ง หางเสือจะสามารถบังคับเครื่องบินให้หมุนจมูกของเครื่องบินไปทางด้านซ้ายหรือขวา การปรับหางเสือไปทางซ้ายจะส่งผลให้เครื่องบินหมุนส่วนจมูกไปทางด้านซ้าย และการปรับหางเสือไปทางขวาจะส่งผลให้เครื่องบินหมุนส่วนจมูกไปทางด้านขวา การใช้หางเสือทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเล็กน้อยในลักษณะของการโรล

💓 แอรอน (Aileron)
แอรอน คือส่วนที่ขยับได้ของปีก แอรอนสามารถขยับได้ในแนวนอน แอรอนที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณปีกซ้ายและขวาจะขยับในทิศทางตรงกันข้าม เพื่อทำให้เครื่องบินเกิดการ โรล

💓 แฟลป (Flaps)
แฟลป คล้ายกับแอรอนแต่มักจะอยู่ใกล้กับโคนปีกและทำงานแบบควบคู่กันทั้งปีกซ้ายและขวา พนังขึ้นสอดรับกับรูปร่างตามธรรมชาติของปีก พนังลดลงเปลี่ยนแปลงการไหลของอากาศที่อยู่รอบ ๆ ปีกได้อย่างมีประสิทธิภาพเปลี่ยนรูปร่างปีกอากาศพลศาสตร์และการเพิ่มจำนวนของลิฟท์ที่มีอยู่
แฟลปใช้ในการเพิ่มแรงยกในขณะที่เครื่องบินขึ้นหรือลง และสามารถพับเก็บได้ในระหว่างการบินเพื่อเพิ่มความเร็วในการบิน ในขณะที่มุมของแฟลบเพิ่มขึ้นเครื่องบินทั้งมุมปะทะและแรงต้านจะเพิ่มขึ้นในเวลาเดียวกัน เราสามารถที่จะใช้แฟลบพร้อมๆกับการเบาคันเร่งเพื่อลดความเร็วได้อย่างรวดเร็ว
ข้อควรระวังอย่างหนึ่งก็คือ แฟลปจะทำงานได้ดีแต่เฉพาะเมื่อเครื่องบินเดินทางด้วยความเร็วต่ำถึงความเร็วปานกลางเท่านั้น ถ้าเครื่องบินจะเดินทางเร็วเกินไปอากาศจะไหลผ่านแฟลบเร็วเกินไปและจะทำให้เกิดแรงต้า ในการจิกหัวลงด้วยความเร็วสูงแฟลบ อาจใช้งานไม่ได้เนื่องจากอากาศเดินทางอย่างผ่านแฟลบรวดเร็วเกินไปจะแฟลบไม่สามารถจะขยับได้




**********ที่มา**********

ความคิดเห็น

  1. What is the difference between casino slots and live dealer
    While online 켈로나 개조 casinos 벳썸 are 코드 벳 not regulated by the 호날두 주니어 Malta Gaming Authority 에이스 포커 (MGA), their licensing is governed by the Malta Gaming Authority  Rating: 5 · ‎1 vote

    ตอบลบ
  2. Best slots games - JTM Hub
    Top 7 best slots games for desktop and mobile play - Play all 7 casino 순천 출장샵 slots on Windows 10/8/7 PC! - Download the 김해 출장안마 latest version 광주광역 출장마사지 of the free 동두천 출장안마 slots 군산 출장샵 app.

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น